ระบบนิเวศป่าดิบชื้นบนภูเขา

ระบบนิเวศป่าดิบชื้นบนภูเขา
   ป่าดิบชื้นในประเทศไทยปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนใต้  ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปจนสุดชายแดนของประเทศไทย  ซึ่งต่อกับคาบสมุทรมลายู  โดยเฉพาะบนที่ราบต่ำ  และเนินเขา  จนถึงระดับความสูง  1,000  เมตร  และยังพบเป็นหย่อมๆ ปะปนอยู่กับป่าดิบแล้งในภาคตะวันออกเฉียงใต้  เช่น  จันทบุรี  ตราด  ด้วย  ป่าดิบชื้นทางภาคใต้ของไทย  แบ่งออกเป็น  2
ประเภท  คือ
   - ป่าดิบชื้นแบบไทย  (Thai-type Rainforest)  ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี  มากกว่า  2,000 - 2,500 ม.ม.
   - ป่าดิบชื้นแบบมลายู  (Malayan-type  Rainforest)  ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี มากกว่า 2,500  ม.ม.
สิ่งมีชีวิตในป่าดิบชื้น 
    พรรณไม้ในป่าดิบชื้นประกอบด้วยต้นไม้ชั้นบนซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ตระกูลยาง  (Dipterocarpaceae)  มักมีลำดับสูงตั้งแต่  30  ถึง 50  เมตร  และมีขนาดใหญ่มาก  ถัดลงมาก็เป็นต้นไม้นาดเล็กและขนาดกลาง  ซึ่งสามารถขึ้นอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ได้  รวมทั้งต้นไม้ในตระกูลปาล์ม  (Palmaceae)  ชนิดต่างๆ  พื้นป่ามักรกทึบและประกอบด้วยไม้พุ่ม  ไม้ล้มลุก  ระกำ  หวาย  ไม้ไผ่ต่างๆบนลำต้นไม้ใหญ่จะมีพันธุ์ไม้จำพวก  epiphytes  เช่น  พวกเฟิร์น  กล้วยไม้  และมอส  ขึ้นอยู่ทั่วไป  เถาวัลย์ในป่าชนิดนี้จะมีมากกว่าในป่าชนิดอื่นๆ  พรรณไม้ในป่าดิบชื้นที่สำคัญ  เช่น  ยาง  ตะเคียน  กะบาก  เคี่ยม  จำปาป่า  หลุมพอ  มะหาด  มะม่วงป่า  มะยมป่า  ตาเสือ  ย่านดาโอ๊ะหรือใบไม้สีทอง  ไม้พื้นล่าง  เช่น  ไผ่หก  ระกำ  กระวาน  หวาย  เถาวัลย์ชนิดต่างๆ
ความสัมพันธ์ภายในระบบนิเวศป่าดิบชื้น 
    สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศป่าดิบชื้นมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองทั้งในด้านการพึ่งพาอาศัย  การแก่งแย่งกันเพื่อให้เกิดความสมดุลธรรมชาติในระบบนิเวศ  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวแบ่งออกได้ดังนี้
   - การล่าเหยื่อ  (Predation)  เช่น  เสือล่ากวาง
   - การอิงอาศัยหรือการเกื้อกูล  (Commensalism)  เช่น  เถาวัลย์  เฟิร์น  กล้วยไม้ 
   - เกาะต้นไม้ใหญ่ ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน  (Protocooperation)  เช่น  แมลงกับดอกไม้
   - ภาวะพึ่งพากัน  (Mutualism)  เช่น  โปรโตซัว  ในลำไส้ ปลวก รากับสาหร่ายที่อยู่ร่วมกันของไลเคน
   - ภาวะปรสิต  (Parasitism)  เช่น  กาฝากกับต้นไม้  ทากดูดเลือดหรือเห็บกับสัตว์ตัวใหญ่
   - สภาวะการย่อยสลาย   (Saprophytism)  เช่น การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยซากของสิ่งมีชีวิต
   - ทำให้ซากย่อยสลายสู่ระบบนิเวศในธรรมชาติได้  เช่น  เห็ด  รา  แบคทีเรีย  เป็นต้น

คุณค่าและความสำคัญของระบบนิเวศป่าดิบชื้น
  - 
เป็นส่วนหญิงของวัฏจักรในระบบนิเวศ  เช่น วัฏจักรน้ำ  ออกซิเจน  คาร์บอน  ไนโตรเจน  เป็นต้น
   - เป็นแหล่งกำเนิดปัจจัยสี่
   - เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร
   - ช่วยปรับสภาพภูมิอากาศ
   - ช่วยกักเก็บน้ำ
   - ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์แก่ดิน
   - ลดความรุนแรงของน้ำท่วม
   - ลดการกัดเซาะของหน้าดิน
   - เป็นแนวป้องกันลมพายุ
   - เป็นที่อยู่และแหล่งหลบภัยของสัตว์ป่า
   - เป็นแหล่งนันทนาการ
สถานการณ์ปัจจุบันของระบบนิเวศป่าดิบชื้น 
   ภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าดิบชื้นจากฝีมือมนุษย์ ระบบนิเวศป่าดิบชื้นเสื่อมโทรมลง จากฝีมือของมนุษย์  ดังจะเห็นได้จากข้อมูลสถิติของกรมป่าไม้  ในปี  พ.ศ.  2536  ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่  133,554  ตารางกิโลเมตร  หรือร้อยละ  26.03  ของพื้นที่ทั้งประเทศ  แต่จากข้อมูลปี  พ.ศ. 2541  ปรากฏว่าพื้นที่ป่าไม้ทั้งประเทศเหลืออยู่เพียง  129,722  ตารางกิโลเมตร  หรือเพียงร้อยละ  25.28  ของพื้นที่ทั้งประเทศ  การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ้เป็นการทำลายระบบนิเวศโดยสิ้นเชิง
สาเหตุหลักของการลดลงของป่าไม้  สรุปได้ดังนี้
   - 
การเพิ่มจำนวนของประชากรอย่างรวดเร็วและความจำเป็นในการตอบสนองด้านปัจจัยสี่ของมนุษย์ทำให้เกิดความต้องการไม้เป็นจำนวนมาก เพื่อกิจกรรมต่างๆเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชน  เพื่ออุตสาหกรรม  เพื่อสาธารณูปโภคต่างๆ  เช่นถนนขึ้นสู่ดอย  การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ  เป็นต้น
   - การบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ป่า  เพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้น  เช่น  เพื่อทำสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน  การบุกรุกพื้นที่ป่าขายเลน เพื่อทำนากุ้งกุลาดำ  นอกจากนี้  การกว้านซื้อที่ดินในบริเวณที่เพิ่งถอนสภาพป่าจากเกษตรกร  ซึ่งทำให้เกิดการขยายพื้นที่ทำกินในป่าสงวนต่อไปอีก
   - การส่งเสริมการท่องเที่ยว  การสนองนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการสร้างรีสอร์ท  เป็นเหตุให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่ารวมทั้งความเสื่อมโทรม และการสูญเสียความสมดุลของระบบนิเวศป่าไม้จากปริมาณนักท่องเที่ยวและขยะมูลฝอยที่นักท่องเที่ยวทิ้งไว้
   - การลักลอบตัดไม้  เนื่องจากการป้องกันรักษาป่าไม้ยังไม่เข้มแข็งและเด็ดขาด  อีกทั้งข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณดำเนินการแก่หน่วยงานป่าไม้
   - การเกิดไฟป่า  ซึ่งเกิดขึ้นโดยความตั้งใจและไม่ตั้งใจ


ทีมาhttp://noppornkantakalang.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น